วันพฤหัสบดีที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2555

สำนวนสุภาษิตไทย

สำนวนสุภาษิตไทย


                     เลี้ยงช้างกินขี้ช้าง หมายถึง    ผู้ที่ทำหน้าที่อะไรก็ตามแต่แล้วพลอยได้มีส่วนผลประโยชน์จากหน้าที่ ที่ตนทำอยู่นั้น โดยไม่บริสุทธิ์นัก หรือไปในทำนองที่ไม่ชอบธรรม สำนวนนี้มาจากสมัยโบราณ ซึ่งคงจะเป็นที่พบเห็นกันว่า คนเลี้ยงช้างของหลวงในสมัยนั้น คงมีผลประโยชน์พลอยได้จากค่าเลี้ยงดูช้างอยู่บ้างก็ได้ แต่คงไม่มากนัก.
                   
                           ช้างตายทั้งตัว เอาใบบัวปิดไม่มิด หมายถึง  ความผิดหรือความชั่วร้ายแรงที่รู้กันทั่ว จะปิดอย่างไรก็ไม่มิด


                          
                          สอนจระเข้ให้ว่ายน้ำ หมายถึ  สอนผู้ที่มีความสามารถยิ่งกว่าตน





                          สีซอให้ควายฟัง  หมายถึง คนเซ่อคนโง่ หรือคนที่ดูฉลาดแต่กลับไม่ฉลาด ดังเช่นควายตัวโตกลางทุ่งนาถึงจะมีคนไปสีซออันแสนไพเราะให้ฟัง แต่ควายก็ได้สนใจฟังไม่ผู้ที่สีซอก็ไม่ได้รับประโยชน์อะไรจากควายเลยเสียแรงและเสียเวลาไปโดยใช่เหตุสีซอให้ควายฟังจึงมีความหมายว่า แนะนำจี้แจงสิ่งต่างๆให้แก่คนโง่ ชี้แจงให้ฟังเท่าไหร่ก็ไม่รู้เรื่องซึ่งไม่มีประโยชน์ที่จะต้องคอยแนะนำ
                     ใช้เปรียบเทียบกับคนที่ไม่ยอมเชื่อฟังคำสั่งสอนไม่รับรู้ไม่สนใจแม้จะสั่งสอนสักเท่าไหร่ ก็ไม่รับฟัง ผู้สอนก็เสียแรงโดย เปล่าประโยชน์เช่นเด็กชายเป็ด เอาการบ้านมาทำฉันก็สอนไป เหมือนกับสีซอให้ควายฟัง ยังไงยังงั้น แกก็ไม่สนใจฟังฟังเลย



                        ขี่ช้างจับตั๊กแตน หมายถึง  ตั๊กแตนเป็นสัตว์ปีกที่ตัวเล็กๆสีเทาและเขียวอ่อนๆบินได้ ตั๊กแตนจะใช้วิธีกระโดดหรือดีดตัวไปได้ไกลถึง3-4 ฟุต จะอยู่ที่พุ่มหญ้ากว้างๆอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ถ้ามีคนไปกวนก็จะกระจัดกระจายไป จับยากต้องใช้สวิงขนาดเล็ก ผูกกับปลายไม้ยาวไล่ครอบถึงจะจับได้ ถ้าจับด้วยมือเปล่าไม่มีทางจับได้ เพราะมันรวดเร็วและไวมากช้างนั้นตัวใหญ่ผิดกับตั๊กแตนซึ่งตัวเล็กกระจิดเดียว และการที่จะขี่ช้างที่เป็นสัตว์ที่มีคุณค่าในทางแรงงานสูงไปจับเจ้าตั๊กแตนที่ตัวเล็กเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำเป็นเรื่องที่เกินเหตุที่จะต้องไปลงทุนขนาดนั้นสำนวนนี้จึงหมายถึงการที่ เรานั้นทำเรื่องที่เกินเหตุและใหญ่โตมากเกินไปกว่าความจำเป็นหรือเกินกว่าเหตุนั่นเอง
                           เปรียบเทียบเพื่อชี้ให้เห็นว่า การลงทุนทำอะไรที่ใหญ่โต มีวิธีการมากมาย ลงทุนมหาศาลแต่กลับได้ประโยชน์กลับมาแค่นิดเดียวนั้นมันไม่คุ้มที่จะทำ




                              เสือนอนกิน หมายถึง  ผู้ได้รับประโยชน์โดยไม่ต้องลงทุนหรือลงแรง



                      ทำนาบนหลังคน  หมายถึง  คนที่คิดหาผลกำไรหรือหาผลประโยชน์ใส่ตน ด้วยวิธีเบียดเบียนหรือรีดนาทา  เร้นเอาจากน้ำพักน้ำแรงของผู้อื่น โดยขาดความเมตตา เช่น ให้กู้เงินแล้วเรียกดอกเบี้ยแพง ๆ หรือกว้านซื้อข้าวจากชาวนาในราคาถูก ๆ เพื่อเอามาค้าหากำไรโดยเหตุที่การทำนาของคนไทยในสมัยโบราณจัดว่า เป็นอาชีพหลักและสำคัญส่วนใหญ่โบราณจึงเอาเรื่อง “ทำนา” มาผูกเป็นสำนวนความหมายทำนองเดียวกับ “รีดเลือดกับปู” ก็ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น