วันพฤหัสบดีที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2555

สำนวนสุภาษิตไทย

สำนวนสุภาษิตไทย


                     เลี้ยงช้างกินขี้ช้าง หมายถึง    ผู้ที่ทำหน้าที่อะไรก็ตามแต่แล้วพลอยได้มีส่วนผลประโยชน์จากหน้าที่ ที่ตนทำอยู่นั้น โดยไม่บริสุทธิ์นัก หรือไปในทำนองที่ไม่ชอบธรรม สำนวนนี้มาจากสมัยโบราณ ซึ่งคงจะเป็นที่พบเห็นกันว่า คนเลี้ยงช้างของหลวงในสมัยนั้น คงมีผลประโยชน์พลอยได้จากค่าเลี้ยงดูช้างอยู่บ้างก็ได้ แต่คงไม่มากนัก.
                   
                           ช้างตายทั้งตัว เอาใบบัวปิดไม่มิด หมายถึง  ความผิดหรือความชั่วร้ายแรงที่รู้กันทั่ว จะปิดอย่างไรก็ไม่มิด


                          
                          สอนจระเข้ให้ว่ายน้ำ หมายถึ  สอนผู้ที่มีความสามารถยิ่งกว่าตน





                          สีซอให้ควายฟัง  หมายถึง คนเซ่อคนโง่ หรือคนที่ดูฉลาดแต่กลับไม่ฉลาด ดังเช่นควายตัวโตกลางทุ่งนาถึงจะมีคนไปสีซออันแสนไพเราะให้ฟัง แต่ควายก็ได้สนใจฟังไม่ผู้ที่สีซอก็ไม่ได้รับประโยชน์อะไรจากควายเลยเสียแรงและเสียเวลาไปโดยใช่เหตุสีซอให้ควายฟังจึงมีความหมายว่า แนะนำจี้แจงสิ่งต่างๆให้แก่คนโง่ ชี้แจงให้ฟังเท่าไหร่ก็ไม่รู้เรื่องซึ่งไม่มีประโยชน์ที่จะต้องคอยแนะนำ
                     ใช้เปรียบเทียบกับคนที่ไม่ยอมเชื่อฟังคำสั่งสอนไม่รับรู้ไม่สนใจแม้จะสั่งสอนสักเท่าไหร่ ก็ไม่รับฟัง ผู้สอนก็เสียแรงโดย เปล่าประโยชน์เช่นเด็กชายเป็ด เอาการบ้านมาทำฉันก็สอนไป เหมือนกับสีซอให้ควายฟัง ยังไงยังงั้น แกก็ไม่สนใจฟังฟังเลย



                        ขี่ช้างจับตั๊กแตน หมายถึง  ตั๊กแตนเป็นสัตว์ปีกที่ตัวเล็กๆสีเทาและเขียวอ่อนๆบินได้ ตั๊กแตนจะใช้วิธีกระโดดหรือดีดตัวไปได้ไกลถึง3-4 ฟุต จะอยู่ที่พุ่มหญ้ากว้างๆอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ถ้ามีคนไปกวนก็จะกระจัดกระจายไป จับยากต้องใช้สวิงขนาดเล็ก ผูกกับปลายไม้ยาวไล่ครอบถึงจะจับได้ ถ้าจับด้วยมือเปล่าไม่มีทางจับได้ เพราะมันรวดเร็วและไวมากช้างนั้นตัวใหญ่ผิดกับตั๊กแตนซึ่งตัวเล็กกระจิดเดียว และการที่จะขี่ช้างที่เป็นสัตว์ที่มีคุณค่าในทางแรงงานสูงไปจับเจ้าตั๊กแตนที่ตัวเล็กเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำเป็นเรื่องที่เกินเหตุที่จะต้องไปลงทุนขนาดนั้นสำนวนนี้จึงหมายถึงการที่ เรานั้นทำเรื่องที่เกินเหตุและใหญ่โตมากเกินไปกว่าความจำเป็นหรือเกินกว่าเหตุนั่นเอง
                           เปรียบเทียบเพื่อชี้ให้เห็นว่า การลงทุนทำอะไรที่ใหญ่โต มีวิธีการมากมาย ลงทุนมหาศาลแต่กลับได้ประโยชน์กลับมาแค่นิดเดียวนั้นมันไม่คุ้มที่จะทำ




                              เสือนอนกิน หมายถึง  ผู้ได้รับประโยชน์โดยไม่ต้องลงทุนหรือลงแรง



                      ทำนาบนหลังคน  หมายถึง  คนที่คิดหาผลกำไรหรือหาผลประโยชน์ใส่ตน ด้วยวิธีเบียดเบียนหรือรีดนาทา  เร้นเอาจากน้ำพักน้ำแรงของผู้อื่น โดยขาดความเมตตา เช่น ให้กู้เงินแล้วเรียกดอกเบี้ยแพง ๆ หรือกว้านซื้อข้าวจากชาวนาในราคาถูก ๆ เพื่อเอามาค้าหากำไรโดยเหตุที่การทำนาของคนไทยในสมัยโบราณจัดว่า เป็นอาชีพหลักและสำคัญส่วนใหญ่โบราณจึงเอาเรื่อง “ทำนา” มาผูกเป็นสำนวนความหมายทำนองเดียวกับ “รีดเลือดกับปู” ก็ได้

กลอนสุนทรภู่


กลอนสุนทรภู่



           อย่างหม่อมฉันอันที่ดีและชั่ว

ถึงลับตัวแต่ก็ชื่อเขาลือฉาว

       เป็นอาลักษณ์นักเลงทำเพลงยาว

เขมรลาวลือเลื่องถึงเมืองนคร





                จงทราบความตามจริงทุกสิ่งสิ้น
อย่านึกนินทาแกล้งแหนงไฉน
นักเลงกลอนนอนเปล่าก็เศร้าใจ
จึงร่ำไรเรื่องร้างเล่นบ้างเอยฯ

กลอนสุนทรภู่ บางตอนจาก "นิราศภูเขาทอง"




              ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์
มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต
แม้นพูดชั่วตัวตายทำลายมิตร
จะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจาฯ

กลอนสุนทรภู่ บางตอนจาก "นิราศภูเขาทอง"





              ถึงโรงเหล้าเตากลั่นควันโขมง
มีคันโพงผูกสายไว้ปลายเสา
โอ้บาปกรรมน้ำนรกเจียวอกเรา
ให้มัวเมาเหมือนหนึ่งบ้าเป็นน่าอาย
ทำบุญบวชกรวดน้ำขอสำเร็จ
สรรเพชญโพธิญาณประมาณหมาย
ถึงสุราพารอดไม่วอดวาย
ไม่ใกล้กรายแกล้งเมินก็เกินไป
ไม่เมาเหล้าแล้วแต่เรายังเมารัก
สุดจะหักห้ามจิตคิดไฉน
ถึงเมาเหล้าเช้าสายก็หายไป
แต่เมาใจนี้ประจำทุกค่ำคืนฯ

กลอนสุนทรภู่ บางตอนจาก "นิราศภูเขาทอง"





แม่รักลูก ลูกก็รู้ อยู่ว่ารัก
ใครอื่นสัก หมื่นแสน ไม่แม้นเหมือน
จะกินนอน วอนว่า เมตตาเตือน
จะจากเรือน ร้างแม่ ก็แต่กาย

กลอนสุนทรภู่ บางตอนจาก "ขุนช้างขุนแผน"





         แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์
มันแสนสุดลึกล้ำเหลือกำหนด
ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด
ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน

กลอนสุนทรภู่ บางตอนจาก "สุดสาคร"





จะหักอื่น ขืนหัก ก็จักได้
หักอาลัย นี้ไม่หลุด สุดจะหัก
สารพัด ตัดขาด ประหลาดนัก
แต่ตัดรัก นี้ไม่ขาด ประหลาดใจ

กลอนสุนทรภู่ บางตอนจาก "นิราศอิเหนา"





               อันความคิดวิทยาเหมือนอาวุธ
ประเสริฐสุดซ่อนใส่เสียในฝัก
สงวนคมสมนึกใครฮึกฮัก
จึงค่อยชักเชือดฟันให้บรรลัย

กลอนสุนทรภู่ บางตอนจาก "เพลงยาวถวายโอวาท"





              มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท
อย่าให้ขาดสิ่งของต้องประสงค์
จงมักน้อยกินน้อยค่อยบรรจง
อย่าจ่ายลงให้มากจะยากนาน

กลอนสุนทรภู่ บางตอนจาก "สุภาษิตสอนหญิง"





                  อันอ้อยตาลหวานลิ้นแล้วสิ้นซาก
แต่ลมปากหวานหูไม่รู้หาย
แม้นเจ็บอื่นหมื่นแสนจะแคลนคลาย
เจ็บจนตายเพราะเหน็บให้เจ็บใจ

กลอนสุนทรภู่ บางตอนจาก "เพลงยาวถวายโอวาท"





                  บัดเดี๋ยวดังหงั่งเหง่งวังเวงแว่ว
สะดุ้งแล้วเหลียวแลชะแง้หา
เห็นโยคีขี่รุ้งพุ่งออกมา
ประคองพาขึ้นไปจนบนบรรพต

แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์
มันแสนสุดลึกล้ำเหลือกำหนด
ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด
ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน

กลอนสุนทรภู่ บางตอนจาก "พระอภัยมณี"
(ตอน พระฤาษีสอนสุดสาคร)





                   แม้นใครรักรักมั่งชังชังตอบ
ให้รอบคอบคิดอ่านนะหลานหนา
รู้สิ่งไรไม่สู้รู้วิชา
รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี

กลอนสุนทรภู่ บางตอนจาก "พระอภัยมณี"
(ตอน พระฤาษีสอนสุดสาคร)


        อันนินทากาเลเหมือนเทน้ำ
ไม่ชอกช้ำเหมือนเอามีดมากรีดหิน
แค่องค์พระปฎิมายังราคิน
คนเดินดินหรือจะสิ้นคนนินทา

กลอนสุนทรภู่ บางตอนจาก "พระอภัยมณี"





                              เขาย่อมเปรียบเทียบความว่ายามรัก
แต่น้ำผักต้มขมชมว่าหวาน
ครั้นรักจางห่างเหินไปเนิ่นนาน
แต่น้ำตาลว่าเปรี้ยวไม่เหลียวแล

กลอนสุนทรภู่ บางตอนจาก "พระอภัยมณี"





               ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร
ไม่สิ้นสุดความรักสมัครสมาน
แม้เกิดในใต้ฟ้าสุธาธาร
ขอพบพานพิศวาสไม่คลาดคลา

              แม้เนื้อเย็นเป็นห้วงมหรรณพ
พี่ขอพบศรีสวัสดิ์เป็นมัจฉา
แม้เป็นบัวตัวพี่เป็นภุมรา
เชยผกาโกสุมประทุมทอง

             แม้เป็นถ้ำอำไพใคร่เป็นหงส์
จะร่อนลงสิงสู่เป็นคู่สอง
ขอติดตามทรามสงวนนวลละออง
เป็นคู่ครองพิศวาสทุกชาติไป

กลอนสุนทรภู่ บางตอนจาก "พระอภัยมณี"
(ตอน พระอภัยมณีเกี้ยวนางละเวง ได้ถูกนำไปดัดแปลงเล็กน้อยกลายเป็นเพลง "คำมั่นสัญญา")




พระฟังความพราหมณ์น้อยสนองถาม
อันดนตรีมีคุณทุกอย่างไป
ถึงมนุษย์ครุฑาเทวราช
แม้นปี่เราเป่าไปให้ได้ยิน
ให้ใจอ่อนนอนหลับลืมสติ
ซึ่งสงสัยไม่สิ้นในวิญญาณ์
แล้วหยิบปี่ที่ท่านอาจารย์ให้
พระเป่าเปิดนิ้วเอกวิเวกดัง
จึงเล่าความจะแจ้งแถลงไข
ย่อมใช้ได้ดังจินดาค่าบุรินทร์
จตุบาทกลางป่าพนาสิณฑ์
ก็สุดสิ้นโทโสที่โกรธา
อันลัทธิดนตรีดีหนักหนา
จงนิทราเถิดจะเป่าให้เจ้าฟัง
เข้าพิงพฤกษาไทรดังใจหวัง
สำเนียงวังเวงแว่วแจ้วจับใจฯ


กลอนสุนทรภู่ บางตอนจาก "พระอภัยมณี"
(ตอน คุณวิเศษ ของดนตรี พระอภัยมณีอธิบายความวิเศษของ ดนตรีให้ศรีสุวรรณและสามพราหมณ์ฟัง)





แล้วตรัสบอกลูกน้อยกลอยสวาท
อันรักษาศีลสัตย์กัตเวที
ทรลักษณ์อักตัญญุตาเขา
ให้ทุกข์ร้อนงอนหง่อทรพล
เพราะบิดามาด้วยอุศเรนนี้
เจ้าทำผิดก็เหมือนพ่อทรยศ
เจ้าหน่อเนื้อเชื้อชาติดังราชสีห์
ย่อมเป็นที่สรรเสริญเจริญคน
เทพเจ้าก็จะแช่งทุกแห่งหน
พระเวทมนตร์เสื่อมคลายทำลายยศ
คุณเขามีมากล้นพ้นกำหนด
จงออมอดเอ็นดูพ่อแต่พองามฯ


กลอนสุนทรภู่ บางตอนจาก "พระอภัยมณี"
(ตอน พระอภัยมณีขอร้องสินสมุทร ให้คืนนางสุวรรณมาลีแก่อุศเรน)





ประเวณีตีงูให้หลังหัก
จระเข้ใหญ่ไปถึงน้ำมีกำลัง
อันแม่ทัพจับได้แล้วไม่ฆ่า
ต้องตำรับจับให้มั่นคั้นให้ตาย
จะพลิกพลิ้วชิวหาเป็นอาวุธ
ต้องตัดศึกลึกล้ำที่สำคัญ
มันก็มักทำร้ายเมื่อภายหลัง
เหมือนเสือขังเข้าถึงดงก็คงร้าย
ไปข้างหน้าศึกจะใหญ่ขึ้นใจหาย
จะทำภายหลังยากลำบากครัน
ประหารบุตรเจ้าลังกาให้อาสัญ
นางหมายมั่นมุ่งเห็นจะเป็นการฯ


กลอนสุนทรภู่ บางตอนจาก "พระอภัยมณี"
(ตอน นางวาลีเตือนสติพระอภัยมณี เมื่อพระอภัยมณีจะปล่อยอุศเรนไป)




จะพูดจาปราศรัยกับใครนั้น
อย่าตะคั้นตะคอกให้เคืองหู
ไม่ควรพูดอื้ออึ้งขึ้นมึงกู
คนจะหลู่ล่วงลามไม่ขามใจ

กลอนสุนทรภู่ บางตอนจาก "สุภาษิตสอนหญิง"




รู้วิชาก็ให้รู้เป็นครูเขา
จึงจะเบาแรงตนช่วยขนขวาย
มีข้าไทใช้สอย ค่อยสบาย
ตัวเป็นนายโง่เง่าบ่าวไม่เกรง

กลอนสุนทรภู่ บางตอนจาก "พระอภัยมณี"










วันภาษาไทยแห่งชาติ


ความเป็นมา

               คณะกรรมการรณรงค์เพื่อภาษาไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ตระหนักในคุณค่าและความสำคัญของภาษาไทย และมีความห่วงใยในปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นต่อภาษาไทย และเพื่อกระตุ้นและปลุกจิตสำนึกให้คนไทยทั้งชาติได้ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของภาษาไทย ตลอดจนร่วมมือกันทำนุบำรุง ส่งเสริม และอนุรักษ์ภาษาไทยให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป จึงได้เสนอขอให้รัฐบาลประกาศให้วันที่ ๒๙ กรกฎาคม ของทุกปี เป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ เช่นเดียวกับวันสำคัญอื่นๆ ที่รัฐบาลได้จัดให้มีมาก่อนแล้ว เช่น วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติและ วันสื่อสารแห่งชาติเป็นต้น และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันอังคารที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๔๒ เห็นชอบให้วันที่ ๒๙ กรกฎาคม ของทุกปีเป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ



เหตุผลที่เลือกวันที่ 29 กรกฎาคม เป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ

                   สำหรับเหตุผลที่เลือกวันที่ 29 กรกฎาคม เป็น วันภาษาไทยแห่งชาติ นั้นเพราะวันดังกล่าว ตรงกับวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินไปเป็นประธาน และทรงร่วมอภิปรายในการประชุมทางวิชาการของชุมนุมภาษาไทย ที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ ห้องประชุมคณะอักษรศาสตร์ เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 ทรงเปิดอภิปรายในหัวข้อ "ปัญหาการใช้คำไทย" โดยพระองค์ทรงดำเนินการอภิปรายและทรงสรุปการอภิปราย ที่แสดงถึงพระปรีชาสามารถและความสนพระราชหฤทัยรวมถึงความห่วงใยในภาษาไทย ซึ่งเป็นที่ประทับใจกับผู้ร่วมเข้าประชุมในครั้งนั้นเป็นอย่างยิ่ง

                  สำหรับพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในครั้งนั้น มีใจความตอนหนึ่งว่า "เรามีโชคดีที่มีภาษาของตนเองแต่โบราณกาล จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้ ปัญหาเฉพาะในด้านรักษาภาษาก็มีหลายประการ อย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในทางออกเสียง คือให้ออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจน อีกอย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในวิธีใช้ หมายความว่าวิธีใช้คำมาประกอบประโยค นับเป็นปัญหาที่สำคัญ ปัญหาที่สามคือความร่ำรวยในคำของภาษาไทย ซึ่งพวกเรานึกว่าไม่ร่ำรวยพอ จึงต้องมีการบัญญัติศัพท์ใหม่มาใช้... สำหรับคำใหม่ที่ตั้งขึ้นมีความจำเป็นในทางวิชาการไม่น้อย แต่บางคำที่ง่ายๆ ก็ควรจะมี ควรจะใช้คำเก่าๆ ที่เรามีอยู่แล้ว ไม่ควรจะมาตั้งศัพท์ใหม่ให้ยุ่งยาก..."

                  นับเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวในประวัติศาสตร์ของวงการภาษาไทย ที่ได้รับพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณดังกล่าว ซึ่งในโอกาสต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังได้ทรงแสดงความสนพระราชหฤทัยและความห่วงใยในภาษาไทยอีกหลายโอกาส อย่างในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 ที่ได้ทรงมีพระบรมราโชวาทตอนหนึ่งว่า "ในปัจจุบันนี้ปรากฏว่า ได้มีการใช้คำออกจะฟุ่มเฟือย และไม่ตรงกับความหมายอันแท้จริงอยู่เนืองๆ ทั้งออกเสียงก็ไม่ถูกต้องตามอักขรวิธี ถ้าปล่อยให้เป็นไปดังนี้ ภาษาของเราก็มีแต่จะทรุดโทรม ชาติไทยเรามีภาษาของเราใช้เองเป็นสิ่งอันประเสริฐอยู่แล้ว เป็นมรดกอันมีค่าตกทอดมาถึงเราทุกคนจึงมีหน้าที่จะต้องรักษาไว้ ฉะนั้นจึงขอให้บรรดานิสิตและบัณฑิต ตลอดจนครูบาอาจารย์ได้ช่วยกันรักษาและส่งเสริมภาษาไทย ซึ่งเป็นอุปกรณ์และหลักประกันเพื่อความเจริญวัฒนาของประเทศชาติ"

                   นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยังมีพระปรีชาญาณและพระอัจฉริยะภาพในการใช้ภาษาไทย ทรงรอบรู้ปราดเปรื่องถึงรากศัพท์ของคำไทย คือ ภาษาบาลีและสันสกฤต ทรงพระอุตสาหะวิริยะแปลและเรียบเรียงวรรณกรรมภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทยที่สมบูรณ์ด้วยลักษณะวรรณศิลป์ มีเนื้อหาสาระที่มีคุณค่า เป็นคติในการเสียสละเพื่อส่วนรวม และเป็นแบบอย่างแก่ประชาชนในการใช้ภาษาไทย ดังจะเห็นได้จากพระราชนิพนธ์แปลเรื่องนายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ ติโต พระราชนิพนธ์แปลบทความเรื่องสั้นๆ หลายบท และพระราชนิพนธ์เรื่อง พระมหาชนก เป็นต้น

ประโยชน์ที่คาดว่าได้รับจากการมีวันภาษาไทยแห่งชาติ

                 1. วันภาษาไทยแห่งชาติ จะทำให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐฯ และเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานในกระทรวงศึกษาธิการ และทบวงมหาวิทยาลัย ตระหนักในความสำคัญของภาษาไทย และร่วมกันจัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นเตือน เผยแพร่ และเน้นย้ำให้ประชาชนเห็นความสำคัญของ "ภาษาประจำชาติ" ของคนไทยทุกคน และร่วมมือกันอนุรักษ์การใช้ภาษาไทยให้มีความถูกต้องงดงามอยู่เสมอ

                2. บุคคลในวงวิชาชีพต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาไทย โดยเฉพาะในวงการศึกษา และวงการสื่อสาร ช่วยกันกวดขันดูแลให้การใช้ภาษาไทยเป็นไปอย่างถูกต้องเหมาะสม มิให้ผันแปรเปลี่ยนแปลง จนเกิดความเสียหายแก่คุณลักษณะของภาษาไทยอันเป็นเอกลักษณ์ของชาติ

                3. ผลสืบเนื่องในระยะยาว คาดว่าปวงชนชาวไทยทั่วประเทศจะตื่นตัวและสนใจที่จะร่วมกันฟื้นฟู ทำนุบำรุง ส่งเสริมและอนุรักษ์ภาษาไทย อันเป็นเอกลักษณ์และสมบัติวัฒนธรรมที่สำคัญของชาติให้ดำรงคงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป